Screen Mirroring vs. Screen Casting ความเหมือนที่แตกต่าง?

Ajarn WS
2 min readAug 20, 2021

Screen Mirroring และ Screen Casting เป็นความสามารถในการนำภาพหน้าจอ (Screen) หรือเนื้อหา (Content) ขึ้นแสดงบนจอหลักขนาดใหญ่กว่า ผ่านทางเครือข่าย (Network) โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณภาพ (VGA/HDMI) แต่อย่างไรก็ตามสองอย่างนี้ยังมีลักษณะที่แต่งต่างกันและดีไปคนละอย่าง

Screen Mirroring

Screen Mirroring หรือที่เรียกว่า “การสะท้อนหน้าจอ” เป็นการนำภาพหน้าจอของมือถือ แท็บเล็ต หรือโน๊ตบุ๊ค ขึ้นแสดงบนจอขนาดใหญ่กว่า เช่น ทีวี หรือโปรเจคเตอร์ ผ่านทางเครือข่ายภายในเดียวกัน (WLAN/LAN) เหมาะสำหรับการประชุม การนำเสนอ การเรียนการสอน โดยที่หน้าจอของทั้งสองอุปกรณ์จะแสดงเหมือนกัน โดยมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้…

แสดงสองหน้าจอเหมือนกัน — เหมาะสำหรับการประชุม การนำเสนอ การเรียนการสอน ที่ต้องดูไปพร้อมๆกัน
ใช้แบนด์วิดท์บนเครือข่ายสูง — อาจเกิดอาการภาพกระตุก ค้าง หรือหมุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเชื่อมต่อกับ Wi-Fi 2.4GHz หรือกรณีที่สัญญาณ Wi-Fi อ่อน
ใช้พลังงานและทรัพยากรสูง — โดยเครื่องที่ส่งภาพหน้าจอไปยังต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เครื่องร้อนและแบตเตอรี่หมดเร็ว
ไม่สามารถใช้งานอย่างอื่นได้ — บนเครื่องที่ส่งภาพหน้าจอออกไป

Screen Casting

Screen Casing หรือที่เรียกว่า “การโยนขึ้นจอ” เป็นการนำเนื้อหาจากแอปที่รองรับ Screen Casting บนมือถือ แท็บเล็ต หรือโน๊ตบุ๊ค ขึ้นแสดงบนจอขนาดใหญ่กว่า เช่น ทีวี หรือโปรเจคเตอร์ ผ่านทางเครือข่ายภายในเดียวกัน (WLAN/LAN) เหมาะสำหรับความบันเทิง เพลิดเพลินภายในบ้าน โดยที่หลังจากโยนเสร็จแล้วจอขนาดใหญ่ก็จะแสดงเนื้อหานั้นตามลำดับจนจบ ส่วนเครื่องที่ส่งเนื้อหานั้นไปแล้วก็สามารถปิด หรือเปิดใช้งานอย่างอื่นได้ โดยมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้…

แสดงหน้าจอหลักหน้าจอเดียว — เหมาะสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน
ใช้แบนด์วิดท์บนเครือข่ายต่ำกว่า— ลดปัญหาอาการภาพกระตุก ค้าง หรือหมุน
รองรับการนำเนื้อหาขึ้นจอหลักจากหลายเนื้อหาและจากหลายอุปกรณ์ — โดยเนื้อหาที่ส่งไปจะได้รับการเข้าคิวเพื่อแสดงตามลำดับ (หรือลัดคิวก็ได้)
ใช้พลังงานและทรัพยากรต่ำกว่า — โดยเครื่องที่ส่งไปสามารถปิดใช้งานได้ เครื่องไม่ร้อนและประหยัดแบตเตอรี่
เครื่องที่ส่งเนื้อหาไปสามารถใช้งานอย่างอื่นได้ปกติ — ถูกใจคนรุ่นใหม่ที่มักทำอะไรหลายๆอย่างไปพร้อมๆกัน
แอปที่รองรับแม้มีพอสมควรแต่ยังมีจำกัด — ตอนนี้แอปที่ใช้ได้ เช่น Youtube, Facebook Watch, Line TV, Netflix, Disney+ Hotstar, iQIYI, WeTV เป็นต้น และบางแอปจะให้ใช้ได้เฉพาะลูกค้า VIP เช่น VIU เป็นต้น ดังนั้นแอปใดที่ไม่รองรับ หากต้องการขึ้นจอใหญ่ก็ต้องใช้วิธี Screen Mirroring แทน

“สรุปแล้วก็ต้องใช้ทั้งสองวิธี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และข้อจำกัดต่างๆ แต่ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด”

👨‍💼 Author: Ajarn WS | ⏱ Aug 20, 2021

⚠️ สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้แชร์ลิงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น ห้ามคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข ก่อนได้รับการอนุญาต

📚 คลิกดูบทความที่เกี่ยวข้อง…

--

--

Ajarn WS

My broadband Knowledge and Experience Sharing for All