วิธีนำหน้าจอโน๊ตบุ๊คขึ้นจอโปรเจคเตอร์หรือทีวีแบบไร้สายด้วย Chromecast

Ajarn WS
2 min readSep 7, 2021

หากท่านต้องการความสะดวกสบาย และมีความสมาร์ทในการนำหน้าจอโน๊ตบุ๊คขึ้นจอโปรเจคเตอร์หรือทีวีเพื่อนำเสนอ ในยุคนี้คงต้องใช้เทคโนโลยี Wireless Display ซึ่งมีอยู่หลายหลายแบบ (ดูเพิ่มเติมในบทความ “ความหลากหลายของ Wireless Display Technology”) แต่วันนี้จะขอแนะนำ Google Chromecast

ข้อดีของ Wireless Display

  • สะดวกกว่า — ไม่ต้องเชื่อมต่อสายสัญญาณ VGA หรือ HDMI
  • หมดปัญหาสายไม่ถึง — เพราะมันไม่ใช้สาย
  • ทุกคนสามารถแชร์หน้าจอกันได้สะดวกขึ้น
  • สามารถแชร์ได้หลากหลายกว่า — อาจเลือกแชร์เฉพาะเนื้อหาบางอย่างก็ได้

ข้อจำกัด Wireless Display

  • ต้องมีอุปกรณ์และแอปที่รองรับ
  • ต้องมีเครือข่าย Wi-Fi
  • ต้องตั้งค่า Wi-Fi Router ให้รองรับ
  • สัญญาณ Wi-Fi ควรมีคุณภาพดี — สัญญาณแรง และควรใช้คลื่นความถี่ 5GHz ที่เป็น Wi-Fi 5 (11ac) ขึ้นไป

สิ่งที่ต้องมี

  • ทีวีที่รองรับ Chromecast — ซึ่งจะเป็นทีวีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android TV (หรือระบบใหม่ Google TV)
  • หากทีวีหรือโปรเจคเตอร์ไม่มีระบบ Chromecast ก็สามารถใช้อุปกรณ์เสริมที่มี Chromecast เช่น Google Chromecast Dongle (หรือตัวใหม่ Google TV Dongle) หรือกล่อง (STB) ที่มี Chromecast built-in เช่น Xiaomi Mi Box S
  • คอมพิวเตอร์ที่มี Wi-Fi (ดูข้อกำหนดขั้นต่ำ/ที่แนะนำของเครื่องคอมพิวเตอร์)
  • เบราว์เซอร์ Google Chrome เวอร์ชั่นล่าสุด (เวอร์ชั่น 72 ขึ้นไป)
  • เครือข่าย Wi-Fi ที่ตั้งค่ารองรับถูกต้อง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความ “เทคนิคการเซ็ต Router สำหรับ Network Media Sharing/Content Streaming”)

ขั้นตอน

1.ให้ทีวีหรืออุปกรณ์เสริมที่มี Chromecast และโน๊ตบุ๊คเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi เดียวกัน

2.เปิดสิ่งที่ต้องการนำเสนอ บนโน็ตบุ๊ค เช่น PowerPoint Presentation

3.เปิดโปรแกรม Google Chrome บนคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค

4.คลิก “สัญญลักษณ์ 3 จุด” เพื่อตั้งค่า
คลิก “Cast…” เพื่อเริ่มแคส

5.คลิก “Sources” เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการแคส
คลิกเลือก “Cast desktop” เพื่อแคสหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งหน้าจอ

6.คลิกเลือกอุปกรณ์ทีวีหรือกล่องที่พร้อม (Available) จะแคสไป (อาจแสดงหลายอุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่าย) หน้าจอโน๊ตบุ๊คของเราก็จะถูกแคสส่งไปยังโปรเจคเตอร์หรือทีวี

7.หากต้องการหยุดการแคส ให้คลิก “Stop casting”

รูปแบบการแคสแบบต่างๆที่ Google Chrome ทำได้

Cast Tab : เป็นการแคสเฉพาะหน้าแท็บหน้าใดหน้าหนึ่งของ Google Chrome ที่ต้องการเท่านั้น โดยไม่แสดงตามหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เหมาะกับการแคส YouTube

Cast Desktop : เป็นการแคสหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งหน้าจอ โดยจะแสดงผลเหมือนกันกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ลักษณะเดียวกันกับ Screen Mirroring

Cast File : เป็นการแคสวิดีโอหรือเสียง/เพลง จากไฟล์ในคอมพิวเตอร์

👨‍💼 Author: Ajarn WS | ⏱ Sep 07, 2021

⚠️ สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้แชร์ลิงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น ห้ามคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข ก่อนได้รับการอนุญาต

📚 คลิกดูบทความที่เกี่ยวข้อง…

--

--

Ajarn WS

My broadband Knowledge and Experience Sharing for All